วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

การปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ

วิธีการปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ

มีวิธีการปลูกได้ 2 วิธี.

1.การปลูกผักนอกมุ่งตาข่ายไนล่อน

2.การปลูกผักในมุ้งตาข่ายไนล่อน (ผักกางมุ้ง)


1.การปลูกผักนอกมุ่งตาข่ายไนลอน


พื้นที่ปลูกผักทั่วๆไปที่ปลูกกันไม่ตลอดปี มีการปลูกปีละ 1 รุ่นหรือมากกว่า 1 รุ่น การระบาดของศัตรูพืชมีไม่มากนักเกษตรกรมีการใช้สารเคมีน้อยวิธีการป้องกันและกำจักศัตรูพืชแนะนำให้ใช้หลายๆ วิธี มีวิธีต่างๆดังนี้



1.การปรับสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อให้ผักเจริญเติบโตได้ดี และป้องกันการระบาดของโรคพืชผักบางชนิดที่ระบาดรุนแรงในสภาพดินเสื่อมโทรม การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด อัตรา1.000-2.000กิโลกรัมต่อไร่


2.การปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน โดยการใส่ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือแร่โดไลไมท์ อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร หลังใส่ปูนแล้วต้องลดน้ำตามด้วย เพื่อปรับสภาพของดินให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของดิน




3.การปฏิบัติต่อเมล็ดพันธุ์ เพื่อป้องกันและกำจัดเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งสามารถป้องกันได้โดย

-แช่เมล็ดพันธุ์ผักในน้ำอุณหภูมิ 5.-55 องศาเซลเซียส เวลา 10-15 นาทีน้ำร้อนจะสามารถทำลายเชื้อรา ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคได้ และยิ่งช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย


4.การให้ธาตุอาหารเสริม พืชบางชนิดต้องการธาตุอาหารเสริมแม้ว่าจะต้องการปริมาณไม่มาก แต่ถ้าขาดธาตุที่จำเป็นจะแสดงอาการผิดปกติ (เป็นโรค) เช่น ผักตระกูลพริกและมะเขือ ต้องการแคลเซียม ถ้าขาดจะเกิดโรคผลเน่า พืชตระกูลกะหล่ำ และผักกาดต้องการธาตุโบรอน และแคลเซียม ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ถ้าขาดจะเกิดอาการโรคไส้กลวงดำได้


5.การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เป็นวิธีการที่สามารถดักจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูผักหลายชนิด เช่น เพลี้ยไฟ แมลงวันเจาะผล แมลงวันหนอนชอนใบ ผีเสื้อชนิดต่างๆ เช่น ผีเสื้อหนอนใยผัก หนอนกระทู้ หอม หนอนคืบ และหนอนกินใบ วิธีการใช้ดักจับสีเหลือง คือนำกระป๋องหรือวัสดุที่มีสีเหลือง ซึ่งช่วยดึงดูดแมลงให้เข้ามาหาเมื่อทากาวรอบๆกับดัก ตัวศัตรูผักบินมาเกาะและจะติดตายที่กับดัก การวางกับดักควรวางสูงจากพืชที่ปลูก 1 ฟุต ในช่วงที่มีแมลงระบาดมากๆให้วาง 60-80จุดต่อไร่ โดยวางระยะ 4x4 เมตร ในช่วงแมลงน้อยก็ลดปริมาณการวางลง


6.การใช้กับดักแสงไฟ ใช้ไฟในการล่อแมลง หลอดแสงสีม่วง หรือ แสงสีน้ำทะเลสามารถดัก ล่อผีเสื้อกลางคืน เช่นผีเสื้อหนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกระกล่ำ การวางหลอดไฟควรวางสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร มีภาชนะใส่น้ำรองรับอยู่ใต้หลอดไฟ30 เซนติเมตร ควรปิดบังส่วนบนเพื่อป้องกันไม่ให้แสงไฟกระจายกว้างเกินไปให้วาง 2 จุดต่อไร่


7.การใช้พลาสติกสีเทา-เงิน เหมาะสำหรับการปลูกผักที่มีระยะการปลูกที่แน่นอน ใช้พลาสติกสีเทา - เงิน คลุมแปลงปลูก จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน ควบคุมวัชพืชและช่วยลดปริมาณแมลงพวกปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไร วัสดุที่ใช้อาจเป็นพลาสติกเทา-ดำ หรือใยสังเคราะห์เทา-ดำแก่ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการหาและราคา ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุการใช้งาน



8.การใช้ชีวอินทรีย์ เป็นการควบคุมศัตรูพืชโดยไว้สิ่งมีชีวิต ได้แก่

-เชื้อไวรัส เช่น Nuclear Polyhedrosis Virus ( NVP)

-เชื้อแบคทีเรีย เช่น Bacillus Thuringiensis (BT)

-ไส้เดือนฝอย เช่น Steinernema carpocapsae Weiser

-เชื้อรา เช่น Trichoderma SPP

หรือใช้ศัตรูธรรมชาติอื่นๆ เช่น แมลงตัวห้ำ ตัวเบียน เป็นต้น


9.การใช้สารสกัดจากสะเดา สะเดาเป็นพืชที่มีประโยชน์ทั้งด้านป่าไม้ อุตสาหกรรม และการเกษตร เป็นสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสามารถเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชได้


แมลงที่ทีสามารถควบคุมได้ด้วยสารสกัดจากเมล็ดสะเดา

9.1ใช้สารสกัดได้ผลดี คือ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอนกัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก

9.2ใช้สารสกัดได้ผลปานกลาง คือ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะสมอฝ้าย แมลงหวี่ขาว หนอนต้นกล้าถั่ว หนอนเจาะดอกกล้วยไม้ แมลงวันทอง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยอ่อน

9.3ใช้สารสกัดได้ผลน้อย คือ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยตัวเต็มวัยของมวนต่างๆ เช่น มวนแดง มวนเขียว ตัวเต็มวัยด้วงต่างๆ เช่น ด้วงหมัดกระโดด และพวกไรชนิดต่างๆ

9.4การควบคุมวัชพืช หากมีการควบคุมวัชพืชอย่างถูกต้อง แล้วสามารถลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้ โดยทำการเตรียมดินให้ดี มีการเก็บหัวไหล หรือข้อหญ้าออกจากดิน การตากดินมาความจำเป็น เพาะช่วยเร่งให้วัชพืชงอกแล้วทำการไถกลบวัชพืชที่งอกใหม่ แล้ววัชพืชจะไม่สามารถงอกมาได้ ในระยะต่อมา การคลุมดินจะช่วยในการชะงักการเติบโตของวัชพืชได้ การใช้มือถอด จอบถาก เป็นวิธีที่เหมาะในงานกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก และการเพิ่มจำนวนต้นพืชต่อไร่จะช่วยลดที่ว่างให้วัชพืชโตได้ เมื่อพืชผักโตแล้วจึงทำการถอนแยกพืชปลูก

9.5การใช้สารเคมี ใช้ในกรณีที่ใช้วิธีที่ 1-10ไม่ได้ผลจึงใช้สารเคมีฉีดพ่น แต่ควรใช้ให้ถูกวิธี ถูกอัตรา และทิ้งระยะให้สารเคมีสลายตัวหมดจึงเก็บเกี่ยวผลผลิต

2.การปลูกผักในมุ้งตาข่ายไนล่อนใช้แก้ปัญหาพื้นที่ที่มีแมลงศัตรูผักดื้อสารเคมี พื้นที่ที่ใช้สารเคมีเป็นปริมาณมาก

ผักที่ปลูกได้ในมุ้งตาข่ายไนล่อน

-ประเภทกินใบ เช่น คะน้า ผักกาดขาว กวางตุ้ง ขึ้นฉ่ายฯลฯ

-ประเภทกินดอก เช่น กะหล่ำดอก บล็อกโคลี่ ฯลฯ

-ประเภทกินผักและผล เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ ถั่วลันเตาฯลฯ

โครงสร้างและโรงเรือนมุ้งตาข่าย ให้พิจารณา

1.สภาพพื้นที่ปลูกผัก ถ้าเป็นที่โล่ง ลมแรง ควรมีขนาด 1-2งาน

2.สภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร คำนึงถึงแหล่งวัสดุ ราคาที่สามารถดำเนินการได้

ลักษณะโรงเรือนและมุ้งตาข่าย

1.โรงเรือน มีหลายขนาดแตกต่าง ซึ่งพอจะแบ่งได้ 3 ขนาด

-ขนาดเล็ก คือ กว้าง 4-6 เมตร ยาว 30-40 เมตร สูง 2-2.5 เมตร มีพื้นที่ 100-200ตารางเมตรต่อหลัง

-ขนาดกลาง คือ กว้าง 20-40 เมตร ยาว 20-40 เมตร สูง 2-2.5เมตร มีพื้นที่ 800-1,600 ตารางเมตรต่อหลัง

-ขนาดใหญ่ คือ โรงเรือนที่มีพื้นที่มากกว่า 1600 ตารางเมตร 1ไร่ ขึ้นไปต่อหลัง

2.โครงสร้าง รูปร่างโครงสร้างมีหลายแบบ เช่น หลังคาโค้ง สี่เหสี่ยมผืนผ้า หลังคาโค้งหรือจั่ว เหมาะสำหรับขนาดเล็กและขนาดกลาง และหลังคาแบบราบเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่าเหมาะสำหรับแปลงขนาดใหญ่

3.วัสดุ โรงเรือนใช้วัสดุที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับทุนของเกษตรกร ได้แก่

-โครงโลหะ เหล็ก หรือท่าแป๊ป ซึ่งแข็งแรงและสะดวกในการติดตั้งโยกย้าย

-ไม้เนื้อแข็ง/ปูน เสาไม้หรือปูน คานใช้วัสดุอื่นๆ เช่น ไม้ไผ่

-ไม้ไผ่ทั้งหลัง ซึ่งหาง่าย ราคาถูก แข็งแรง ทนทานพอสมควร

4.มุ้งตาข่ายไนล่อน ที่ให้พิจารณาใช้มี 2 อย่าง คือ

4.1สีของมุ้งมี 2 สี คือสีฟ้า (ไม่ค่อยเหมาะสมเพราะแสงผ่านได้ 70%ทำให้พืชบางชนิดเติบโตได้ไม่ดี)สีขาว(เหมาะที่จะใช้เพราะแสงผ่านได้ปกติ)

4.2ขนาดความถี่ ความถี่ของตาข่ายที่เหมาะคือ 16 ช่องต่อนิ้ว เพราะมีการระบายอากาศได้ดี ป้องกันผีเสื้อและแมลงเกือบทุกชนิด ขณะนี้มีการผลิตขนาดความถี่ 24 ช่อง และ 36 ช่องต่อนิ้ว อาจมีปัญหาด้านความชื้น และอุณหภูมิ ต้องพิจารณาให้เหมาะกับพืช และพื้นที่ด้วย

วิธีกางมุ้งตาข่าย

เมื่อสร้างโรงเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มุ้งตาข่ายที่คลุมใช้ได้ผลดี และมีอายุการใช้งานที่นาน ควรปฏิบัติในการกางมุ้ง

1.อย่าให้มุ้งเกี่ยวกับสิ่งกีดขวาง หรืออย่าดึงมุ้งแรงมุ้งจะขาด

2.ควรกางด้านใดด้านหนึ่งก่อน โดยใช้แรงงานหลายคนดึงและลากคลุมจนชิด ขอบโรงเรือนแต่ละด้าน

3.ในการเย็บต่อมุ่งให้ใช้เส้นเอ็น เส้นทอมุ้ง หรือเส้นโพลีเอทซิลลีน ซึ่งทนทาน ใช้งานได้นานเท่าอายุของมุ้งตาข่าย

4.ชายมุ้งหรือขอบที่ติดดิน ควรใช้ดินกลบทับให้อยู่ในแนวระดับเดียวกัน ให้รอบทุกด้านป้องกันการเล็ดลอดของแมลง

5.ควรทำประตูเข้า-ออก ที่กว้างพอที่จะเข้าไปปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

6.เมื่อกางมุ่งเสร็จทั้งหลัง ควรใช้ลวดเบอร์ 12 หรือ สายโทรศัพท์ที่ใช้แล้วขึงทับด้านบนกันตาข่ายกระพือจากแรงลม

3 ความคิดเห็น:

  1. เขาปูตาข่ายทำไมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เมื่อพืชโตขึ้น จะนำเสามาปัก หัวแปลง ท้ายแปลงและคลีงตาข่ายไว้ เพื่อพยุงพืช ไม่ให้ล้มครับ

      ลบ
  2. ขออนุญาต​แชร์​เก็บ​ไว้อ่าน​นะคะ

    ตอบลบ