การผลิตปุ๋ยและจุลลินทรีย์ท้องถิ่น
การผลิตและใช้น้ำสกัดชีวภาพในครัวเรือน
วัสดุอุปกรณ์- ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท
- ถุงใส่เศษอาหาร
- เศษอาหารจากครัวเรือน
- กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทุกชนิด
วิธีทำ
- นำเศษอาหารใส่ลงในถุง
- คลุกเคล้าด้วยกากน้ำตาลหรือนำตาลในอัตราส่วน 1 :3 คือ น้ำตาล 1 ส่วนต่อเศษอาหาร 3 ส่วน โดยน้ำหนัก
- เมื่อเต็มถุงมัดปากถุงให้แน่น
- หมักไว้ 10-15 วัน จะได้น้ำสกัดชีวภาพ
- ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้
การใช้ประโยชน์
- ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ได้ทุกชนิด
- ใส่ในส้วมเพื่อเร่งการย่อยสลาย
- ราดในท่อระบายน้ำ
- ราดบริเวณรอบบ้าน เพื่อลดปัญหาแมลงวันและยุง
- เร่งการทำปุ๋ยหมักจากใบหญ้าใบไม้ในบ้าน
- ฉีดไล่มดและแมลงสาปในบ้าน
- ทำความสะอาดเครื่องประดับ
- ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร
- ผสมน้ำอาบให้สัตว์เลี้ยงเพื่อกำจัดกลิ่นตัว
- ใส่ในน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน
- ผสมน้ำแช่ผัก เพื่อลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง
- ผสมน้ำล้างปลาให้หมดกลิ่นคาว
- น้ำสกัดชีวภาพที่หมักด้วยผลไม้และน้ำตาลทราย ใช้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และรสชาติดี
- กากที่เหลือฝังดินเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้
หมายเหตุ
- เศษอาหารที่ใช้หมักควรสดและไม่เน่า
- เศษอาหารที่เป็นแกง ต้องเทน้ำแกงออก
- ถ้ามีเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ต้องเพิ่มน้ำตาล เพื่อให้สารสกัดชีวภาพมีกลิ่นหอมขึ้น
- น้ำสกัดชีวภาพที่ใช้ไล่แมลงและมด ควรได้จากการหมักของเปลือกผลไม้ หรือผลไม้ดิบ เช่นมะละกอ สับปะรด มะม่วง และสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น