พันธุ์กบที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์
1. กบนา เป็นกบที่เหมาะสำหรับเลี้ยงในเชิ้งพาณิชย์มากที่สุดเพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว และตลาด ต้องการสูงกว่าพันธุ์อื่น ลักษณะของกบนานั้น ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดเจน คือ กบตัวผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางบริเวณมุมปากล่างทั้ง 2 ข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง ส่วนกบตัวเมียจะมองไม่เห็นกล่องเสียงดังกล่าว
กบนามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรก ลำตัวจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขาหน้าสั้นระหว่างไหล่กับตามีลายพาดสีจางๆ บริเวณริมผีปากใต้คางอาจมีจุดหรือลายริ้วตรงคอหอย ส่วนอีกชนิดหนึ่งขาหน้าและขาหลังยาวปานกลาง ด้านหลังมีแถบสีดำประมาณ 10 แถว น้ำหนัก 200-300 กรัม
2. กบบลูฟร็อค จะเป็นกบพันธุ์จากต่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากกบนาอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยมีผิวหนังส่วนใหญ่เรียบ แต่มีบางส่วนขรุขระ เป็นสีน้ำตาลปนเขียว ลำตัวมีขุดสีน้ำตาล ลักษณะที่เห็นเด่นชัด คือ กบบลูฟร็อค จะมีส่วนหัวที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล ที่ข้างท้องมีลายสีน้ำตาล ใต้ท้องสีขาว ขาทั้งสีข้างเป็นลายสีน้ำตาล ใต้ท้องมีสีขาว ขาทั้งสีข้างเป็นลายสีน้ำตาลดำ ลำตัวใหญ่กว่ากบนา แต่ประชาชนไม่ค่อยบริโภคเพราะรสชาติสู้กบนาไม่ได้
3. กบลูกผสม จะเป็นลูกผสมระหว่างกบนากับกบบลูฟร็อค ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อส่งออก
ก่อนเลี้ยงต้องศึกษาวิธีการเลี้ยงก่อน
“เกษตรกรผู้เลี้ยงกบหลายรายต้องประสบความล่มเหลวในการเพาะเลี้ยงกบเพราะไม่เข้าใจวิธีการเลี้ยง เห็นคนอื่นเลี้ยงแล้วมีกำไรก็เลี้ยงบ้าง ไม่เข้าใจในอุปนิสัยของกบ กบเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขอบรังแกกันจึงจะต้องมีการคัดแยกขนาดคือ กบตัวใหญ่จะกินกบตัวเล็กทำให้กบในบ่อเราลดลงหลังจากปล่อยลูกกบลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน ต้องทำการคัดแยกลูกกบที่มีขนาดเล็กออกไปปล่อยในบ่ออื่นป้องกันไม่ให้กบกินกันเอง”
ก่อนตัดสินใจเลี้ยงกบจะต้องศึกษารายละเอียดและนิสัยใจคอ รวมถึงตลาดก่อน เพราะหากเราไม่รู้จักวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องทำให้เรามีโอกาสขาดทุนมีมากปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จมีดังนี้
1. บ่อเลี้ยงกบ ก่อนสร้างบ่อเลี้ยงกบจะต้องเลือกทำเลการเลี้ยงให้เหมาะสม โดยปกติแล้วบ่อเลี้ยงกบที่ดีจะต้องอยู่ใกล้บ้าน เพราะกบมีสัตว์ศัตรูเป็นจำนวนมาก ขนาดบ่อที่จะเลี้ยง ควรมีขนาดประมาณ 1 งาน ขุดบ่อลึกประมาณ 1.50 เมตร บริเวณขอบบ่อล้อมด้วยตาข่ายไนลอนเพื่อป้องกันกบหนี้ออกจากบ่อและป้องกันศัตรูกบ ตาข่ายไนลอนควรมีความสูงประมาณ 1 เมตร
2. การเพาะพันธุ์กบ การเตรียมพันธุ์กบให้เหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 งาน จะต้องใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวน 120 คู่ โดยอาจปล่อยกบตัวผู้ให้มากกว่าตัวเมียประมาณ 5 ตัว การผสมพันธุ์จะต้องมีน้ำหนักประมาณ 300-700 กรัมและมียุ 12-16 เดือนขึ้นไป
พ่อ – แม่พันธุ์กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีสภาพสมบูรณ์ในระบบการผสมพันธุ์
2. มีอัตราการเจริญเติบโตปกติสม่ำเสมอ
3. เลี้ยงบำรุงด้วยอาหารอย่างดี
4. ไม่ควรได้รับการกระทบกระเทือนที่รุ่นแรง
5. ไม่มีบาดแผลตามลำตัว
6. ไม่เป็นโรคพยาธิ
7. มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์
8. มีอายุถึงขั้นสมบูรณ์เพศ
การดูลักษณะเพศตัวผู้ ให้ดูกล่องเสียงใต้คางทั้งสองข้างบริเวณขากรรไกรจะมีลักษณะเป็นวงกลมสีคลำเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะส่งเสียงร้อง ส่วนกล่องเสียงจะพองโต ซึ่งตัวเมียจะไม่มี ส่วนกบเพศเมีย เมื่อพร้อมจะผสมพันธุ์ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และกบตัวเมียที่มีไข่อยู่ในท้อง จะมีความสากข้างลำตัวทั้งสองข้าง เมื่อใช้นิ้วสัมผัสดูจะรู้สึกได้
การเพาะพันธุ์ จะปล่อยกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์ลงในบ่อซีเมนต์หรือวงบ่อผู้ซีเมนต์ ภายในบ่อจะมีพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง หรือผักตบชวาเล็กๆ ในการเพาะพันธุ์จะปล่อยน้ำในบ่อให้สูงไม่เกิน 5 เซนติเมตร ถ้าระดับสูงกว่านั้นเวลากบตัวผู้รัดตัวเมียเพื่อเบ่งไข่ขากบเพศเมียจะไม่ถึงพื้นทำให้ไม่มีแรงเบ่งไข่ขากบเพศเมียจมน้ำนานๆ กบเพศเมียอาจตายได้ ตามปกติกบจะจับคู่ปละผสมพันธุ์กันตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเวลาประมาณ 09.00 น. ของวันใหม่ เมื่อสังเกตเห็นกบขาแล้วให้จับพ่อแม่กบออกจากบ่อ แล้วปล่อยให้ไข่กบฟักเป็นตัวเอง ใช้ระยะเวลาฟักประมาณ 7 วัน จึงย้ายลูกอ๊อด ลงเลี้ยงลงในบ่อต่อไป
การอนุบาลลูกกบ เมื่อไข่กบฟักออกมาเป็ฯตัวอ่อนแล้ว ในระยะเวลา 2 วันแรก ไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกอ๊อดยังกินไข่แดงที่ติดจากตัวเองก่อน หลังจากนั้นจะเริ่มให้ไข้ต้มสุกบดละเอียด ปั้นเป็นก้อนเลี้ยง การให้อาหารลูกอ๊อดจะต้องคอยสังเกตการณ์กินอาหาร ถ้าอาหารเหลือมากให้ลดปริมาณอาหารที่ให้ลงเพราะถ้ามีเศษอาหารเหลือมากจะหมักดมมอยู่ภายในบ่อเป็นต้อนเหตุให้น้ำเน่าเสียถ้าพบเศษอาหารเหลือให้ดูดเศษอาหารออกแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ ตามปกติจะถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50-70%ของปริมาณน้ำในบ่อ
การเลี้ยงกบเนื้อ หลังจากอนุบาลลูกกบประมาณ 7 วัน ให้นำลูกอ๊อดลงบ่อเลี้ยงที่เตรียมไว้ ในพื้นที่บ่อ 1 งานจะใช้ลูกอ๊อดประมาณ 300,000 ตัว หรือใช้พ่อ – แม่พันธุ์ 120 คู่ ในระยะแรกเมื่อลูกอ๊อดฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ไม่ควรให้อยู่ในน้ำลึกเกิน 30 เซนติเมตร ภายในบ่อควรปล่อยพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักบุ้งหรือผักตบชวาเพื่อให้ความรมเย็น และเป็นที่เกาะอาศัยของลูกอ๊อด อาหารในระยะแรกควรเป็นอาหารเม็ด โปรตีนในอาหารเม็ดไม่ควรต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การให้อาหารจะให้เวลาเช้าและเย็น หลังเลี้ยงประมาณ 1-2 สัปดาห์ ลูกอ๊อดจะมีขาหลังเกิดขึ้น และจะพัฒนาเป็นลูกกลเล็กเมื่อมีอายุประมาณ 25-35 วัน น้ำในบ่อเพิ่มขึ้นเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อลูกกบมีอายุประมาณ 2 เดือน ให้เพิ่มระดับน้ำเป็น 120 เซนติเมตร
การจัดการภายในบ่อจากกบเล็กจนถึงกบเนื้อส่งขาย
1. เมื่อกบมีอายุ 1 เดือน เริ่มมีขา กบจะต้องการที่อาศัยบนบก จะต้องทำแพให้กบขึ้นไปอาศัยผึ่งแดด เป็นการลดความเครียดของกบ
2. คัดขนาดกบที่เล็กผิดปกติเพื่อป้องกันการกินกันเองของกบให้จับปล่อยในบ่อที่มีขนาดเท่ากันเพื่อป้องกันการลดปริมาณของกบในบ่อ
3. การคำนวณปริมาณอาหารที่ให้จะต้องให้เหมาะสมและต้องให้หมดเป็นครั้งๆ ไป
4. ถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเน่าเสีย
5. ใส่เกลือเพิ่มเพื่อให้กบแข็งแรง หากสั่งเกตเห็นว่ากบเริ่มตายหรือไม่ค่อยกินอาหารให้ใช้เกลือแกงประมาณ 10 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 งาน เกลือจะช่วยลดความเครียดทำให้กบแข็งแรง และทำให้กินอาหารมากขึ้น
6. ใส่น้ำหมักชีวภาพ เพื่อป้องกันเน่าเสีย
7. ขึงตาข่ายบนบ่อกบ เพื่อป้องกันนกมาจับกิน
การจับกบจำหน่าย ที่มีอายุประมาณ 3 เดือนน้ำหนักประมาณ 200 กรัม หรือ 4-5 ตัว/กิโลกรัม
วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น