วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552
การแก้ไขปัญหาดินเค็ม(ครูอนันท์)
ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาดินเค็มของชาวบ้าน โดยปกติที่นาในอีสานจะมีบริเวณดินเค็มปะปนอยู่ประปราย โดยเฉพาะนาที่อยู่ใกล้ลูกเนินซึ่งเคยเป็นป่าและบริเวณแหล่งน้ำ ชาวบ้านมีวิธีในการแก้ปัญหาดังกล่าวหลายวิธี 1. ทำคันนาขนาดใหญ่กั้นระหว่างบ่อเกลือกับพื้นที่ทำนา บนคันดินมักจะปลูกต้นไม้ทนเค็ม เช่น ต้นเสียว ต้นสะแก และอื่นๆ คันดินจะช่วยกักน้ำให้เต็มผืนนา ทำนาได้ตามปกติ เมื่อน้ำในบริเวณที่นามากกว่า ก็จะซึมผ่านคันดินไปสู่ที่ดินเค็มหรือบ่อเกลือ ซึ่งโดยปกติจะปล่อยไว้เป็นที่โล่งให้น้ำไหลลงสู่ที่ลุ่มหรือแหล่งน้ำ ทำให้เปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำเค็ม ก็จะสามารถทำนาได้ตามปกติ 2. ทำร่องน้ำดักดินเค็ม ในกรณีที่นาอยู่บริเวณที่ลุ่มใกล้เนินดินที่เป็นแหล่งดินเค็ม ชาวบ้านจะทำร่องน้ำขนาดลึกประมาณครึ่งเมตร กว้าง 1-2 เมตร หรือขุดดินทำคันดินเหมือนวิธีที่ 1 และขณะเดียวกันก็จะได้ร่องน้ำพร้อมกัน เมื่อน้ำชะเอาเกลือไหลจากที่สูงก็จะไหลลงร่องน้ำดังกล่าว และไหลลงตามร่องไปสู่แหล่งน้ำใกล้เคียง น้ำเค็มจะไม่ซึมสู่ที่นา 3. การปลูกต้นไม้ในคันนาและในที่ดอน ชาวบ้านทราบกันดีว่าถ้ามีต้นไม้ก็มักจะมีดินเค็มน้อย หรือไม่มีดินเค็ม มีต้นไม้แล้วบริเวณที่เคยเป็นดินเค็มก็จะเกิดหญ้าคลุมดิน ชาวบ้านจึงนิยมปลูกต้นไม้ที่ทนเค็มเพื่อป้องกันดินเค็ม 4. การใช้ปุ๋ยคอก แกลบ และเศษพืช สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน และช่วยยับยั้งดินเค็มในนาได้เป็นอย่างดี 5. การใช้พันธุ์ข้าวทนเค็ม ชาวบ้านรู้จักที่จะเลือกพันธุ์ข้าวและพันธุ์ไม้ที่มีคุณสมบัติในการทนดินเค็ม 6. ทำคันนาขังน้ำลดความเค็ม บริเวณที่เป็นดินเค็มจะต้องทำคันนาให้สูงรอบๆ ที่ดินเค็ม แบ่งซอยให้เป็นแปลงเล็ก ขังน้ำให้เต็ม ใส่ปุ๋ยคอกและเศษพืชมากๆ ก็จะสามารถปลูกข้าวได้ ถ้าขาดน้ำหรือน้ำน้อยข้าวจะลีบหรือตายทันที (ประจักษ์ บุญอารีย์, 2544 : 55-56
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น