วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร

โครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบท แบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร
1.หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการจัดทำโครงการโรงเรียนพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระราชทานให้พสกนิกรดำเนินชีวิตแบบพออยู่พอกิน โดยทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ให้สอดคล้องกับแนววิถีชีวิตชุมชนและภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อเพิ่มทักษะให้กับเด็กและเยาวชนในการดำรงชีวิต กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อการยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อสนองนโนบายของรัฐบาลที่มุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนพลเมืองตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) และเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้ให้แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่านำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้คัดเลือกให้โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคารเป็นโรงเรียนนำร่องหนึ่งในสองโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการคือ 1.โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 2.โรงเรียนหนองหลวงศึกษา อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยได้ทำโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อการยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ ให้โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคารเป็นโรงเรียนนำร่อง และเป็นแบบอย่างในการดำเนินการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อการยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงมาศึกษาดูงานและนำไปดำเนินการตามนโยบายที่กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้โรงเรียนต่างๆ ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการในปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเพิ่มทักษะชีวิตให้เยาวชนของชาติ ได้ตระหนักถึงการดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกิน โดยการทำเกษตรแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ เมื่อเขาเหล่านั้นจบการศึกษาออกจากโรงเรียนจะได้นำไปประกอบอาชีพ เพื่อสนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่ได้คัดเลือกและมอบหมายภาระหน้าที่ให้กับโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อการยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดตามแนวพระราชดำริและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก ในการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์ดังนี้

2.วัตถุประสงค์
1.เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
2.เพื่อให้โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคารเป็นโรงเรียนนำร่องตามโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตร เพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดการให้แก่ประชาชน ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงให้มาศึกษาดูงาน
3.เพื่อส่งเสริมให้ครู-นักเรียน ได้ศึกษาและเรียนรู้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่
4.เพื่อส่งเสริมให้ครู-นักเรียน ได้มีรายได้เสริมเมื่อได้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ จนสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายได้
5.เพื่อสอนให้ครู-นักเรียน ได้เรียนรู้การจัดการ โดยการรวมกลุ่มโดยใช้ระบบสหกรณ์ในการดำเนินงานในระบบการจัดจำหน่ายผลผลิตที่ได้รับจากโครงการ

3.เป้าหมาย
1.เป้าหมายเชิงปริมาณ
1.โรงเรียนสามารถจัดทำแปลงสาธิตการเกษตรได้ถูกต้องตามแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตร เพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 30:30:30:10 ดังนี้
30 ที่หนึ่งคือพื้นที่ในการทำนา
30 ที่สองคือพื้นที่ในการปลูกผัก ไม้ยืนต้น ไม้ผลชนิดต่างๆ
30 ที่สามคือพื้นที่ใช้ขุดบ่อไว้สำหรับเก็บกักน้ำ ไว้สำหรับการเพาะปลูกตลอดปีและเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ
10 ที่สี่คือพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย ถนน เรือนเพาะชำ โรงเพาะพันธุ์กล้าไม้ ที่ตั้งสหกรณ์
2.โรงเรียนสามารถนำน้ำมาเก็บกักไว้ที่บ่อ สำหรับการเพาะปลูกตลอดปี
3.โรงเรียนสามารถเพาะปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และได้ผลผลิตตามที่ได้วางแผนและตั้งเป้าไว้
4.โรงเรียนเป็นศูนย์สาธิตและเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร เพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่
5.นักเรียนโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,445 คน ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรเพื่อการยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ ในปีการศึกษา 2551
2.เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1.ครูและนักเรียนสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
2.โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคารเป็นโรงเรียนนำร่องตามโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตร เพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดการให้แก่ประชาชน ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงให้มาศึกษาดูงาน
3.ครู-นักเรียน ศึกษาและเรียนรู้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่
4.ครู-นักเรียน มีรายได้เสริมเมื่อได้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ จนสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายได้
5.ครู-นักเรียน เรียนรู้การจัดการ โดยการรวมกลุ่มโดยใช้ระบบสหกรณ์ในการดำเนินงานในระบบการจัดจำหน่ายผลผลิตที่ได้รับจากโครงการ

4.วิธีดำเนินการ
1.กิจกรรมสวนไม้ผลแก้วมังกร
2.กิจกรรมสวนกล้วย
3.กิจกรรมสวนผัก
4.กิจกรรมเพาะขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผล
5.กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ
6.กิจกรรมการเพาะเห็ด
7.กิจกรรมการเลี้ยงปลา
8.กิจกรรมการทำนา
9.กิจกรรมพืชไร่ในท้องถิ่น

5.ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายพรมวิทย์ กำเนิดจอก
นายอนันท์ กล้ารอด
นายสมส่วน ใจจันทึก

6.ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ฝ่ายวิชาการ งานเกษตรทฤษฎีใหม่ ฝ่ายประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2.ครู-นักเรียนทุกคนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร

7.งบประมาณ
จำนวนเงิน -
8.ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ปีการศึกษา -
9.สถานที่ดำเนินการ
โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

10.การติดตามและประเมินผล

1.ผลผลิตจากกิจกรรมของงาน
2.ใช้แบบสอบถาม สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้กลุ่มตัวอย่างดังนี้
นักเรียน 34 ห้อง ใช้กลุ่มตัวอย่างห้องละ 10 คน จำนวน 340 คน
บุคลากร ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 100 % จำนวน 80 คน
เป็นวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Samping) และการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าสถิติหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ครูและนักเรียนสนองแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
2.โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคารเป็นโรงเรียนนำร่องตามโครงการพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตร เพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดการให้แก่ประชาชน ชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงให้มาศึกษาดูงาน
3.ครู-นักเรียน ศึกษาและเรียนรู้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่
4.ครู-นักเรียน มีรายได้เสริมเมื่อได้ดำเนินการการเกษตรเพื่อยังชีพในชนบทแบบครบวงจรตามแนวทฤษฎีใหม่ จนสามารถนำผลผลิตไปจำหน่ายได้
5.ครู-นักเรียน เรียนรู้การจัดการ โดยการรวมกลุ่มโดยใช้ระบบสหกรณ์ในการดำเนินงานในระบบการจัดจำหน่ายผลผลิตที่ได้รับจากโครงการ

ลงชื่อ พรมวิทย์ กำเนิดจอก ผู้เสนอโครงการ
(นายพรมวิทย์ กำเนิดจอก)

ลงชื่อ อนันท์ กล้ารอด ผู้เสนอโครงการ
(นายอนันท์ กล้ารอด)

ลงชื่อ สมส่วน ใจจันทึก ผู้เสนอโครงการ
(นายสมส่วน ใจจันทึก)

ลงชื่อ ภิญโญ เศรษฐตานนท์ ผู้เห็นชอบโครงการ
(นายภิญโญ เศรษฐตานนท์ )

รองผู้อำนวนการโรงเรียน ฝ่ายวิชาการ

ลงชื่อ สมชาย คำพิทักษ์ ผู้อนุมัติโครงการ
(นายสมชาย คำพิทักษ์)
ผู้อำนวยการโรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น