วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การผลิตปุ๋ยและจุลลินทรีย์ท้องถิ่น

การผลิตปุ๋ยและจุลลินทรีย์ท้องถิ่น

การผลิตและใช้น้ำสกัดชีวภาพในครัวเรือน

วัสดุอุปกรณ์
  1. ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท
  2. ถุงใส่เศษอาหาร
  3. เศษอาหารจากครัวเรือน
  4. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทุกชนิด


วิธีทำ

  1. นำเศษอาหารใส่ลงในถุง
  2. คลุกเคล้าด้วยกากน้ำตาลหรือนำตาลในอัตราส่วน 1 :3 คือ น้ำตาล 1 ส่วนต่อเศษอาหาร 3 ส่วน โดยน้ำหนัก
  3. เมื่อเต็มถุงมัดปากถุงให้แน่น
  4. หมักไว้ 10-15 วัน จะได้น้ำสกัดชีวภาพ
  5. ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพลงในถังพลาสติก ปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้


การใช้ประโยชน์

  1. ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ได้ทุกชนิด
  2. ใส่ในส้วมเพื่อเร่งการย่อยสลาย
  3. ราดในท่อระบายน้ำ
  4. ราดบริเวณรอบบ้าน เพื่อลดปัญหาแมลงวันและยุง
  5. เร่งการทำปุ๋ยหมักจากใบหญ้าใบไม้ในบ้าน
  6. ฉีดไล่มดและแมลงสาปในบ้าน
  7. ทำความสะอาดเครื่องประดับ
  8. ใส่ตู้ปลาเพื่อย่อยสลายขี้ปลาและเศษอาหาร
  9. ผสมน้ำอาบให้สัตว์เลี้ยงเพื่อกำจัดกลิ่นตัว
  10. ใส่ในน้ำให้สัตว์เลี้ยงกิน
  11. ผสมน้ำแช่ผัก เพื่อลดสารพิษจากยาฆ่าแมลง
  12. ผสมน้ำล้างปลาให้หมดกลิ่นคาว
  13. น้ำสกัดชีวภาพที่หมักด้วยผลไม้และน้ำตาลทราย ใช้เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และรสชาติดี
  14. กากที่เหลือฝังดินเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้


หมายเหตุ

  1. เศษอาหารที่ใช้หมักควรสดและไม่เน่า
  2. เศษอาหารที่เป็นแกง ต้องเทน้ำแกงออก
  3. ถ้ามีเศษอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ต้องเพิ่มน้ำตาล เพื่อให้สารสกัดชีวภาพมีกลิ่นหอมขึ้น
  4. น้ำสกัดชีวภาพที่ใช้ไล่แมลงและมด ควรได้จากการหมักของเปลือกผลไม้ หรือผลไม้ดิบ เช่นมะละกอ สับปะรด มะม่วง และสมุนไพร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น