วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554



สาเหตุความเสียหายของพืช

พืชผักได้รับความเสียหายมี 2 สาเหตุ คือ

1.สิ่งมีชีวิตทำลาย เรียกว่าศัตรูพืชได้แก่ แมลง ไรศัตรูพืช วัชพืช โรคพืช(จากเชื้อรา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอย ไวรัส) นก หนู ปู หอย


2.เสียหายจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แสงแดด ความร้อน สภาพกรด-ด่างของดิน อากาศเสีย พายุ หรือดินฟ้าอากาศแห้งแล้ง



นอกจากนี้มีสาเหตุความเสียหายอื่นๆ เช่น อายุของเมล็ดพันธุ์ ถ้าเก็บไว้นานเกินไปจะมีผลให้เปอร์เซ็นการงอกลดลง



การปลูกผักให้ปลอดจากสารพิษ

ผักปลอดภัยจากสารพิษ คือ ผักที่ไม่มีสารพิษ หรือ สารพิษตกค้าง ในระดับปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538

ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 112 ตอนพิเศษ 24 ง. ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2538)ซึ่งสรุปได้ว่า เฉพาะอาหารพืชผักตาบบัญชีแนบท้ายประกาศดังกล่าวดังนี้

ตามบัญชีหมายเลข 1 พืชผักและพืชเครื่องเทศ กำหนดปริมาณและสารตกค้างสูงสุดที่กำหนดให้มีได้ เป็นสารพิษตกค้างปนเปื้อนจาสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

- สารออลดริน และดีลดริน ปริมาณ 0.05 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัม

ของอาหาร

- สารครอร์เดน ประมาณ 0.02 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร

- สารดีดีที ปริมาณ 0.01 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัมของอาหาร

- สารเฮปตาคลอร์ ประมาณ 0.05 มิลลิกรัมของสารต่อ 1 กิโลกรัม

ของอาหาร


ตามบัญชีหมายเลข 2 ปริมาณสารพิษตกค้างเนื่องจากการใช้ (มิลลิกรัมสาร/1กิโลกรัมอาหาร)

ชื่อสารเคมี

กระหล่ำปลี

ถั่วฝักยาว

แตงกวา

คะน้า

พริก

มะเขือ

หัวหอม

1.โมโนโครโคชตฟอส

0.2

0.2

-

0.2

0.2

0.2

0.05

2.เมทธิลพาราไธออน

0.02

0.1

0.2

-

-

0.2

0.2

3.เมทธามิโคฟอส

1

1

-

1

-

0.5

-

4.ไตเมทโธเอท

2

2

1

0.1

1

-

0.2

5.มาลาไธออน

8

-

-

3

0.5

-

8

6.เมทโธมิล

5

5

0.2

-

1

0.2

0.2

7.เมวินฟอส

1

0.1

0.2

1

-

-

0.1

8.ไดโคฟอส

5

5

0.5

5

5

5

5

9.โอมีไธเอท

0.5

0.1

0.2

0.2

1

-

0.5

10.ไซเปอร์เมทริน

1

0.05

0.2

-

0.5

0.2

0.1

11.อะซีเพท

5

-

-

-

-

-

-


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น