วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ภาคเรียนที่ 1/2554






ท่านเสน่ห์ ขาวโต เป็นประธานเปิดป้ายแหล่งเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และเยี่ยมชมกิจกรรมของนักเรียน




ผู้นำชุมชนเทศบาลอำเภอจัตุรัสเข้ารับการอบรม การดำเนินชีวิต
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเยี่ยมชมกิจกรรมแหล่งเรียนรู้



ผู้ปกครองนักเรียนศึกษาดูงานการเพาะเห็ดโดยใช้เปลือกข้าวโพด
และการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบในบ่อพลาสติก



คุณนราพร หุตะเสวีและคุณเกตุอร ทองเครือ หัวหน้างานผลิตสื่อส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เยี่ยมชมกิจกรรมแหล่งเรียนรู้
และมอบหนังสือพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการเกษตรประมาณ 500 เล่ม
ให้กับห้องสมุดพอเพียง




กิจกรรมเลี้ยงปลาและกบในบ่อพลาสติก


ิจกรรมเลี้ยงหมูหลุมและหมูป่า



กิจกรรมเลี้ยงวัวและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์


กิจกรรมปลูกผักไร้ดินโดยใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพและไม่หมุนเวียนน้ำ




กิจกรรมเพาะเห็ดโต่งฝนและเห็ดอื่นๆโดยใช้เปลือกข้าวโพด


กิจกรรมปลูกพืชผลิตสารกำจัดและขับไล่แมลงได้แก่ไหลแดง
และพืชถอนพิษได้แก่รางจืด



กิจกรรมปลูกไม้ผลได้แก่แก้วมังกร กล้วย


กิจกรรมทำนาข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ



กิจกรรมปลูกผักสวนครัว



กิจกรรมพืชไร่ปลอดสารพิษปลูกมันสำปะหลัง

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

การทำปุ๋ยหมักด้วยจุลินทรีย์ในครัวเรือน

การทำปุ๋ยหมักด้วยจุลินทรีย์ในครัวเรือน

ตามปกติในการทำปุ๋ยหมักจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์ แต่ถ้าใช้น้ำสกัดชีวภาพเป็นตัวเร่ง จะได้ปุ๋ยที่สมบูรณ์ภายใน 1 เดือน

วิธีทำ

  1. นำอินทรียวัตถุที่ต้องการใช้ทำปุ๋ยหมักเช่น หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟางแห้ง มูลสัตว์ เป็นต้น มากองรวมกัน หรือจะคลุกเคล้าให้เข้ากันก็ได้ทำเช่นเดียวกับการทำปุ๋ยหมักโดยทั่วไป
  2. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำในอัตราส่วน 1:1:100คนให้เข้ากันดี ใส่บัวรดน้ำนำไปรดบนกองปุ๋ยให้ชุ่มทั่วทั้งกอง
  3. ใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองปุ๋ยหมักให้มิดชิดเพื่อเก็บความชื้นและเพื่อให้เกิดสภาพไร้อากาศ
  4. ถ้าในกองปุ๋ยหมักมีความชื้นเพียงพอ ก็จะได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ใน 3-4 สัปดาห์
  5. ถ้าต้องการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองที่บ้านอาจใช้ถังส้วม 1-2 ถัง ซ้อนกันใส่วัตถุที่ต้องการทำปุ๋ยหมัก รวมทั้งเศษอาหารจนเต็ม ราดด้วยน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม ปิดด้วยผ้าพลาสติก ใช้เชือกรัดให้แน่นภายใน 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักไว้ใช้

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพจากปลา

กรดอะมิโน เป็นสารอนินทรีย์ที่พืชทุกชนิดต้องการโดยเฉพาะพืชผัก และผลไม้ ทำให้ผักมีสีเขียว น้ำสกัดชีวภาพที่ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ พวกกรดอะมิโนในปริมาณสูงจะช่วยทำให้พืชงาม เร่งการออกดอก ออกผล และพืชสามารถดูดซึมทางใบได้ดี สารอนินทรีย์พวกกรดอะมิโนจะได้จากการหมักโปรตีน เช่น ปลาและหอยเชอรี่ ซึ่งหาได้ง่ายและมีราคาถูก

วิธีการหมัก

การหมักที่ใช้กันมี 2 วิธีคือ

  1. วิธีการสลายด้วยกรดน้ำส้ม และกรดฟอร์มิก ตายวิธีของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (วท.)
  2. หมักตามวิธีการหมักน้ำสกัดชีวภาพของชมรมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศไทยวิธีการหมัก ( ของชมรมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศ ) สามารถทำได้ง่าย เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพ

วัสดุที่ใช้และวิธีการหมัก

  1. วัสดุที่ใช้หมัก ได้แก่ ปลา เศษปลา หัวปลา เครื่องในปลาที่สดหรือหอยเชอรี่ซึ่งสามารถหาได้ง่าย
  2. สับปลาให้เป็นชิ้นเล็กๆหรือเข้าเครื่องบดให้ละเอียดส่วนหอยเชอรี่นำมาทุบทั้งเปลือกแล้วสับหรืออาจจะเอาเครื่องบดให้ละเอียดก็ได้
  3. นำปลาหรือหอยเชอรี่ที่เตรียมไว้แล้วลงหมักกับกากน้ำตาล และน้ำสกัดชีวภาพเพื่อนเร่งกระบวนการหมัก ในอัตราส่วนเท่าๆกัน คืออย่างละ 1 ส่วน ในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิท ถ้ามีเปลือกสับปะรดควรผสมลงไปด้วย เพื่อช่วยในการย่อยสลายและได้น้ำสกัดชีวภาพมีกลิ่นดีขึ้น
  4. หมักไว้อย่างน้อย 1 เดือน แล้วแยกน้ำหมักปลาชีวภาพที่ได้จากภาชนะที่หมักเก็บไว้ใช้ต่อไป ส่วนกากที่เหลือนำไปผสมปุ๋ยหมักหรือฝังดินเป็นปุ๋ย

วิธีใช้

นำน้ำหมักปลาชีวภาพที่ได้จากการหมักปลาและหอยเชอรี่ไปผสมกันน้ำสกดัดชีวภาพที่ได้จาการหมักผลไม้ ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ( 1:1 ) จากนั้นนำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้ไปใช้ตามรายละเอียดที่กล่าวไว้แล้ว

การผลิตน้ำส้มจากกล้วยน้ำว้า

การผลิตน้ำส้มจากผลไม้เป็นที่นิยมกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศโดยวิธีการง่าย น้ำส้มจากผลไม้บางชนิดมีสีน่ารับประทานและบางชนิดมีการใส่สมุนไพรด้วย เพื่อเพิ่มคุณภาพและคุณค่าของน้ำผลไม้และเป็นน้ำส้มที่ใสสะอาดจากการกรอง

วิธีการหมักน้ำส้มจากกล้วยน้ำว้า

วัสดุที่ใช้

1.กล้วยน้ำว้าสุกจัด 2 หวี

2.น้ำตาลทราย 4-5 ช้อนโต๊ะ

3.ขวดโหลหรือภาชนะอื่นๆ 4-5 ลิตร

4.น้ำสะอาด 3-4 ลิตร

วิธีทำ

  1. ปอกกล้วยน้ำว้าสุกจัดใส่กะละมังขยำหรือปั่นในเครื่องปั่นจนละเอียดและนำใส่ลงในขวดโหลหรือภาชนะที่หมัก
  2. ใส่น้ำตาลทรายและน้ำ ปิดฝาให้สนิทหมักไว้จนมีความเปรี้ยวตามต้องการใช้เวลา 10-15 วัน.
  3. เมื่อได้ความเปรี้ยวที่ต้องการ ถานน้ำส้มใส่ขวดเก็บไว้ใช้ต่อไป จะเก็บไว้ใช้ในตู้เย็นหรือในห้องก็ได้

หมายเหตุ

เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของน้ำส้ม ผลไม้ควรกรอง เพื่อให้ได้น้ำส้มผลไม้ที่ใสน่ารับประทานต่อไป น้ำส้มผลไม้จะมีรสชาติอร่อยกลมกล่อม รสไม่จัดเหมือนน้ำส้มสายชูกลั่น 5 เปอร์เซ็นต์+

การทำถังน้ำหมักสกัดชีวภาพ

เพื่อความสะดวดในการทำน้ำสกัดชีวภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อกำจักเศษอาหารไม่ให้เน่าเหม็น และเป็นแหล่งเพาะแมลงวัน ควรมีถังสำหรับผลิตน้ำสกัดชีวภาพไว้ใช้ในบ้าน

อุปกรณ์ที่ใช้

  1. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด ขนาดตามต้องการสำหรับครอบครัวขนาดกลาง ถังขนาดบรรจุน้ำ 30 ลิตร ก็น่าจะพอ
  2. สายยางใสขนาด2-3 หุน ยาง 50 เซนติเมตร
  3. การเหนียวชนิดแห้งเร็ว หรือการซีเมนต์ ชนิดแห้งช้าก็ได้ 1 หลอด
  4. แหวนพลาสติกหรือโลหะ 2 อัน ( ตัดสายยาง 0.5 เซนติเมตรและผ่ากลางทำเป็นแหวน )

วิธีทำ

  1. ใช้เหล็กแหลมขนาดเท่าสายยาง เผาไฟ เจาะรูถุงพลาสติก
  2. ตัดสายยางประมาณ 0.5 เซนติเมตร เพื่อทำแหวน
  3. สอดสายยางไปตามรูที่เจาะ ใช้แหวนบังคับหัวสายยางไว้
  4. หยอดกาวเหนียวที่สายยางและบริเวณรูถังพลาสติกที่สอดสายยางทั้งด้านนอกและด้านในตัวถัง
  5. รอจนกาวแห้งสนิทดี และทดลองใส่น้ำเพื่อทดสอบรอยรั่วซึม ให้ทากาวเหนียวอุดเพิ่มเติม
  6. ใช้ลวดผูกติดสายยาง แล้วแยกสายยางผูกติดกับหูถังพลาสติก

น้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

น้ำสกัดชีวภาพอย่างเดียวไม่ใช่ยาปราบศัตรูพืช แต่จะให้ความต้านทานแก่พืชเพื่อสู้กับศัตรู โรคและแมลงไม่รบกวน ถ้าได้อย่างสม่ำเสมอ น้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักผลไม้ผสมสมุนไพร จะช่วยให้การป้องกันกำจักศัตรูพืชได้ผลดียิ่งขึ้น

วิธีทำ

  1. วิธีการทำน้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและรักษาศัตรูพืช ก็เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กล่าวมาแล้วเพียงแต่ใช้ผลไม้หมักทั้งหมด ผลไม้ที่ใช้ได้ทั้งดิบและสุกหรือเปลือกผลไม้ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่นผลมะม่วงหิมพานต์ก็จะยิ่งดี
  2. สมุนไพรี่ต้องการใช้ร่วมกันน้ำสกัดชีวภาพ ได้แก่ สะเดา ตะไคร้หอม ฟ้าทลายโจร กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า ยาสูบ เป็นต้น นำมาทุบหรือตำให้แตก ใส่น้ำให้ท่วม หมัดไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมนุไพร นำไปกรองเอาแต่น้ำ


วิธีใช้

  1. ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราน้ำสกัด 1 ส่วน น้ำสมุนไพร 1 ส่วนและน้ำ 200-500 ส่วน
  2. ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้หลังต้นพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวน
  3. ควรให้ในตอนเช้าหรือหลังฝนตกและให้อย่างสม่ำเสมอ


ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่ากระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช

วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

  1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
  2. .แกลบดำ 1 ส่วน
  3. อินทรีย์วัตถุอื่นๆที่หาได้ง่าย แกลบชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างกนึ่งหรือรวมกัน 3 ส่วน
  4. รำละเอียด 1 ส่วน
  5. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน +น้ำตาล 1 ส่วน+น้ำ 100 ส่วนคนจนละลายเข้ากันดี


วิธีทำ
  1. นำวัสดุต่างๆมากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
  2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำตาลและน้ำ ใส่บัวรดน้ำราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ได้ความชื้นพอหมาดๆอย่าให้แห้งหรือชื้อเกินไป ( ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ )
  3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 4 -5 วันก็นำไปใช้ได้
  4. วิธีทำได้ 2 วิธีคือ
  • เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วนกระสอบป่านทิ้งไว้ 4– 5วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อละลายความร้อนหลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆเย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป

  • บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุงตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือกระดาน ที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ทิ้งไว้ 5-7 วันจะได้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดธรรมชาติในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรากันเป็นก้อน ในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าเราให้ความชื้นสูงเกินไปฉะนั้นความชื้นที่ให้ต้องพอดี ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้วเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งและที่ร่ม

วิธีใช้

  1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
  2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปี ถั่วฝักยาว แตง และ ฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุมกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 1 กำมือ
  3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผล ที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1/2 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งใบไม้แห้ง หรือฟาง แล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
  4. ไม้ดอกไม้ประดับไม้กระถางควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละครั้ง ครั้งละกำมือ

หมายเหตุ

ปุ๋ยหมักชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแต่เป็นปุ๋ยหมักจุลินทรีย์เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำสกัดชีวภาพ จะทำหน้าทีย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ จึงไม่จำเป็นต้องให้ประมาณมาก และในดินต้องมีสารอินทรีย์วัตถุพวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หญ้าแห้งและใบไม้แห้ง และมีความชื้นอย่างเพียงพอ ต้อพืชจึงจะได้ประโยชน์อย่างเติมที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ ตรงข้ามกัน ถ้าให้มากเกินไปอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ส่วนจะให้ครั้งละประมาณเท่าไหร่ และบ่อยครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้นท่านต้องใช้การสังเกตเอาเองเพราะพืชแต่ละชนิด และในแต่ละพื้นที่มีการตอบสนองต่อปุ๋ยหมักชีวภาพไม่เหมือนกัน

การนำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัดและได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักชีวภาพหรือปุ๋ยคอกเสียก่อนในอัตราส่วน ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ส่วน/ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก โดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไหร่ก็ไม่เป็นผลเสียอย่าลืมด้วยว่า เทคนิคจุลินทรีย์เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกประมาณมากเช่นที่เราเคยปฏิบัติมาใช้เพียง 1 ใน 4 ก็พอแล้วหรือขึ้นอยู่กับประมาณอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่แล้วดินถ้ามีอยู่มากเราก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอย่างน้อยเราก็ใส่มากหน่อย หรือบ่อยหน่อย

ปุ๋ยหมักดินชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า

วัสดุที่ใช้

1.ดินแห้งทุบให้ละเอียดใช้ดินได้ทุกชนิด ดินดำเชิงเขา หรือดินไผ่จะดี 5 ส่วน

2.ปุ๋ยคอกแห้งทุบให้ละเอียด 2 ส่วน

3.แกลบดำ 2 ส่วน

4.รำละเอียด 1-2 ส่วน

5.ขุ่ยมะพร้าวหรือขี้กากอ้อย 2 ส่วน

6.น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน

วิธีทำ

  1. ผสมวัสดุทั้งหมดคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
  2. ราดน้ำสกัดชีวภาพผสมบนกองดินผสมคลุกเคล้าจนได้ความชื้นพอหมาดๆพอปั้นเป็นก้อนได้ไม่แฉะ
  3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนา ประมาณ 1-2 ฝ่ามือคลุมด้วยกระสอบป่าน หมักไว้ 4 –5วัน นำไปใช้ได้
  4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้นมีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน


วิธีใช้

  1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินแห้งทุยละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่าๆกัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนนำไปกรอกถุงหรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้าจะช่วยให้ต้นกล้าเจริญเติบโตแข็งแรง
  2. นำไปเติมในกระถาดดอกไม้ไม้ประดับได้ดีกระถามละ 1-2 กำมือ