วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

พันธุ์กบที่นิยมเลี้ยง (ครูพรหมวิทย์)

พันธุ์กบที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์
1. กบนา เป็นกบที่เหมาะสำหรับเลี้ยงในเชิ้งพาณิชย์มากที่สุดเพราะเลี้ยงง่าย โตเร็ว และตลาด ต้องการสูงกว่าพันธุ์อื่น ลักษณะของกบนานั้น ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย และส่วนที่เห็นได้ชัดเจน คือ กบตัวผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางบริเวณมุมปากล่างทั้ง 2 ข้าง ในช่วงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง ส่วนกบตัวเมียจะมองไม่เห็นกล่องเสียงดังกล่าว
กบนามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรก ลำตัวจะมีสีน้ำตาลปนเขียวขาหน้าสั้นระหว่างไหล่กับตามีลายพาดสีจางๆ บริเวณริมผีปากใต้คางอาจมีจุดหรือลายริ้วตรงคอหอย ส่วนอีกชนิดหนึ่งขาหน้าและขาหลังยาวปานกลาง ด้านหลังมีแถบสีดำประมาณ 10 แถว น้ำหนัก 200-300 กรัม
2. กบบลูฟร็อค จะเป็นกบพันธุ์จากต่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากกบนาอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยมีผิวหนังส่วนใหญ่เรียบ แต่มีบางส่วนขรุขระ เป็นสีน้ำตาลปนเขียว ลำตัวมีขุดสีน้ำตาล ลักษณะที่เห็นเด่นชัด คือ กบบลูฟร็อค จะมีส่วนหัวที่เป็นสีเขียวปนน้ำตาล ที่ข้างท้องมีลายสีน้ำตาล ใต้ท้องสีขาว ขาทั้งสีข้างเป็นลายสีน้ำตาล ใต้ท้องมีสีขาว ขาทั้งสีข้างเป็นลายสีน้ำตาลดำ ลำตัวใหญ่กว่ากบนา แต่ประชาชนไม่ค่อยบริโภคเพราะรสชาติสู้กบนาไม่ได้
3. กบลูกผสม จะเป็นลูกผสมระหว่างกบนากับกบบลูฟร็อค ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อส่งออก

ก่อนเลี้ยงต้องศึกษาวิธีการเลี้ยงก่อน
“เกษตรกรผู้เลี้ยงกบหลายรายต้องประสบความล่มเหลวในการเพาะเลี้ยงกบเพราะไม่เข้าใจวิธีการเลี้ยง เห็นคนอื่นเลี้ยงแล้วมีกำไรก็เลี้ยงบ้าง ไม่เข้าใจในอุปนิสัยของกบ กบเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขอบรังแกกันจึงจะต้องมีการคัดแยกขนาดคือ กบตัวใหญ่จะกินกบตัวเล็กทำให้กบในบ่อเราลดลงหลังจากปล่อยลูกกบลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือน ต้องทำการคัดแยกลูกกบที่มีขนาดเล็กออกไปปล่อยในบ่ออื่นป้องกันไม่ให้กบกินกันเอง”

ก่อนตัดสินใจเลี้ยงกบจะต้องศึกษารายละเอียดและนิสัยใจคอ รวมถึงตลาดก่อน เพราะหากเราไม่รู้จักวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องทำให้เรามีโอกาสขาดทุนมีมากปัจจัยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จมีดังนี้
1. บ่อเลี้ยงกบ ก่อนสร้างบ่อเลี้ยงกบจะต้องเลือกทำเลการเลี้ยงให้เหมาะสม โดยปกติแล้วบ่อเลี้ยงกบที่ดีจะต้องอยู่ใกล้บ้าน เพราะกบมีสัตว์ศัตรูเป็นจำนวนมาก ขนาดบ่อที่จะเลี้ยง ควรมีขนาดประมาณ 1 งาน ขุดบ่อลึกประมาณ 1.50 เมตร บริเวณขอบบ่อล้อมด้วยตาข่ายไนลอนเพื่อป้องกันกบหนี้ออกจากบ่อและป้องกันศัตรูกบ ตาข่ายไนลอนควรมีความสูงประมาณ 1 เมตร
2. การเพาะพันธุ์กบ การเตรียมพันธุ์กบให้เหมาะสมกับบ่อเลี้ยงขนาด 1 งาน จะต้องใช้พ่อแม่พันธุ์จำนวน 120 คู่ โดยอาจปล่อยกบตัวผู้ให้มากกว่าตัวเมียประมาณ 5 ตัว การผสมพันธุ์จะต้องมีน้ำหนักประมาณ 300-700 กรัมและมียุ 12-16 เดือนขึ้นไป

พ่อ – แม่พันธุ์กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีสภาพสมบูรณ์ในระบบการผสมพันธุ์
2. มีอัตราการเจริญเติบโตปกติสม่ำเสมอ
3. เลี้ยงบำรุงด้วยอาหารอย่างดี
4. ไม่ควรได้รับการกระทบกระเทือนที่รุ่นแรง
5. ไม่มีบาดแผลตามลำตัว
6. ไม่เป็นโรคพยาธิ
7. มีรูปร่างสมส่วนตามสายพันธุ์
8. มีอายุถึงขั้นสมบูรณ์เพศ
การดูลักษณะเพศตัวผู้ ให้ดูกล่องเสียงใต้คางทั้งสองข้างบริเวณขากรรไกรจะมีลักษณะเป็นวงกลมสีคลำเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะส่งเสียงร้อง ส่วนกล่องเสียงจะพองโต ซึ่งตัวเมียจะไม่มี ส่วนกบเพศเมีย เมื่อพร้อมจะผสมพันธุ์ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และกบตัวเมียที่มีไข่อยู่ในท้อง จะมีความสากข้างลำตัวทั้งสองข้าง เมื่อใช้นิ้วสัมผัสดูจะรู้สึกได้
การเพาะพันธุ์ จะปล่อยกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์ลงในบ่อซีเมนต์หรือวงบ่อผู้ซีเมนต์ ภายในบ่อจะมีพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง หรือผักตบชวาเล็กๆ ในการเพาะพันธุ์จะปล่อยน้ำในบ่อให้สูงไม่เกิน 5 เซนติเมตร ถ้าระดับสูงกว่านั้นเวลากบตัวผู้รัดตัวเมียเพื่อเบ่งไข่ขากบเพศเมียจะไม่ถึงพื้นทำให้ไม่มีแรงเบ่งไข่ขากบเพศเมียจมน้ำนานๆ กบเพศเมียอาจตายได้ ตามปกติกบจะจับคู่ปละผสมพันธุ์กันตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเวลาประมาณ 09.00 น. ของวันใหม่ เมื่อสังเกตเห็นกบขาแล้วให้จับพ่อแม่กบออกจากบ่อ แล้วปล่อยให้ไข่กบฟักเป็นตัวเอง ใช้ระยะเวลาฟักประมาณ 7 วัน จึงย้ายลูกอ๊อด ลงเลี้ยงลงในบ่อต่อไป
การอนุบาลลูกกบ เมื่อไข่กบฟักออกมาเป็ฯตัวอ่อนแล้ว ในระยะเวลา 2 วันแรก ไม่ต้องให้อาหารเพราะลูกอ๊อดยังกินไข่แดงที่ติดจากตัวเองก่อน หลังจากนั้นจะเริ่มให้ไข้ต้มสุกบดละเอียด ปั้นเป็นก้อนเลี้ยง การให้อาหารลูกอ๊อดจะต้องคอยสังเกตการณ์กินอาหาร ถ้าอาหารเหลือมากให้ลดปริมาณอาหารที่ให้ลงเพราะถ้ามีเศษอาหารเหลือมากจะหมักดมมอยู่ภายในบ่อเป็นต้อนเหตุให้น้ำเน่าเสียถ้าพบเศษอาหารเหลือให้ดูดเศษอาหารออกแล้วเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ ตามปกติจะถ่ายน้ำทุกวันๆ ละ ประมาณ 50-70%ของปริมาณน้ำในบ่อ
การเลี้ยงกบเนื้อ หลังจากอนุบาลลูกกบประมาณ 7 วัน ให้นำลูกอ๊อดลงบ่อเลี้ยงที่เตรียมไว้ ในพื้นที่บ่อ 1 งานจะใช้ลูกอ๊อดประมาณ 300,000 ตัว หรือใช้พ่อ – แม่พันธุ์ 120 คู่ ในระยะแรกเมื่อลูกอ๊อดฟักออกมาเป็นตัวใหม่ๆ ไม่ควรให้อยู่ในน้ำลึกเกิน 30 เซนติเมตร ภายในบ่อควรปล่อยพันธุ์ไม้น้ำ เช่น ผักบุ้งหรือผักตบชวาเพื่อให้ความรมเย็น และเป็นที่เกาะอาศัยของลูกอ๊อด อาหารในระยะแรกควรเป็นอาหารเม็ด โปรตีนในอาหารเม็ดไม่ควรต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ การให้อาหารจะให้เวลาเช้าและเย็น หลังเลี้ยงประมาณ 1-2 สัปดาห์ ลูกอ๊อดจะมีขาหลังเกิดขึ้น และจะพัฒนาเป็นลูกกลเล็กเมื่อมีอายุประมาณ 25-35 วัน น้ำในบ่อเพิ่มขึ้นเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อลูกกบมีอายุประมาณ 2 เดือน ให้เพิ่มระดับน้ำเป็น 120 เซนติเมตร
การจัดการภายในบ่อจากกบเล็กจนถึงกบเนื้อส่งขาย
1. เมื่อกบมีอายุ 1 เดือน เริ่มมีขา กบจะต้องการที่อาศัยบนบก จะต้องทำแพให้กบขึ้นไปอาศัยผึ่งแดด เป็นการลดความเครียดของกบ
2. คัดขนาดกบที่เล็กผิดปกติเพื่อป้องกันการกินกันเองของกบให้จับปล่อยในบ่อที่มีขนาดเท่ากันเพื่อป้องกันการลดปริมาณของกบในบ่อ
3. การคำนวณปริมาณอาหารที่ให้จะต้องให้เหมาะสมและต้องให้หมดเป็นครั้งๆ ไป
4. ถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเน่าเสีย
5. ใส่เกลือเพิ่มเพื่อให้กบแข็งแรง หากสั่งเกตเห็นว่ากบเริ่มตายหรือไม่ค่อยกินอาหารให้ใช้เกลือแกงประมาณ 10 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 งาน เกลือจะช่วยลดความเครียดทำให้กบแข็งแรง และทำให้กินอาหารมากขึ้น
6. ใส่น้ำหมักชีวภาพ เพื่อป้องกันเน่าเสีย
7. ขึงตาข่ายบนบ่อกบ เพื่อป้องกันนกมาจับกิน
การจับกบจำหน่าย ที่มีอายุประมาณ 3 เดือนน้ำหนักประมาณ 200 กรัม หรือ 4-5 ตัว/กิโลกรัม

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่างการเลือกเขียนโครงงาน (ครูพรหมวิทย์)


โครงงานสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความสำคัญ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ความรู้ความสามารถของบุคคลในท้องถิ่นที่เกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ ซึ่งก่อให้เกิดทักษะความชำนาญในอาชีพต่างๆ โดยสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษและพัฒนาปรับปรุงและคิดเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ประกอบอาชีพในการเพิ่มผลผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
จุดประสงค์
1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
2. ฝึกทักษะในการสำรวจได้
3. เพื่อนำข้อมูลไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้สนใจทราบ
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร ตำรา เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ศึกษาผลงานที่เคยทำการสำรวจไว้แล้ว
3. ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาและเขียนโครงงานเสนอ
4. วางแผนการปฏิบัติงาน
4.1 ระยะเวลาและสถานที่ในการสำรวจ
- สำรวจในวันหยุดราชการ
- ระหว่างวันที่ 09.00 น.- 16.00 น.
- กำหนดบริเวณที่ออกสำรวจ
4.2 แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม
4.3 ออกแบบฟอร์มการสำรวจ
- ออกแบบสำรวจ
- เสนอแบบสำรวจให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
- แก้ไขแบบสำรวจ
- พิมพ์แบบสำรวจ
4.4 ทำการสำรวจในท้องถิ่นและจดบันทึกข้อมูล

5. ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ปรับปรุงแก้ไขในขณะปฏิบัติงาน
6. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ และรายงานผลการสำรวจ

แผนปฏิบัติงาน
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ อกสาร ตำรา เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ศึกษาผลงานที่ผู้อื่นเคยสำรวจไว้แล้วเขียนโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
3. วางแผนการปฏิบัติงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
4. ปฏิบัติงานการสำรวจตามขั้นตอนที่วางแผน นอกเวลาเรียน
5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตระหนักและเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ได้รับความรู้ ทักษะ ในการออกสำรวจในท้องถิ่น
3. เป็นข้อมูลสำหรับการสำรวจในคราวต่อไป

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนการปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล
ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. การสำรวจข้อมูลต้องมีความรับผิดชอบต่อการทำงาน
2. การสำรวจข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้เราทราบข้อมูลในท้องถิ่นต่างๆ เพิ่มขึ้น
สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติงานการสำรวจภูมิปัญญาท้องถิ่นได้สำเร็จ
โครงงานส่งเสริมการเรียนรู้การเกษตรแบบผสมผสาน
ความสำคัญ
เนื่องจากปัจจุบัน ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรงโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดภาวะว่างงานจำนวนมาก แรงงานบางส่วนต้องกลับสู่บ้านเกิดของตนเอง และรับจ้างทำงานต่างๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ แนวทางหนึ่งที่เราสามารถเลือกประกอบอาชีพได้ก็คือ การทำเกษตรแบบผสมผสานปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่หันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยทำการปลูกพืชหลายชนิดร่วมกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาบริโภคและขายผลผลิตเพื่อเป็นรายได้แก่ครอบครัว
จุดประสงค์
1. รู้และเข้าใจการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างถูกวิธี
2. สามารถเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสานได้
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาวิธีเขียนโครงงาน เนื้อหา เสนอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้ความเห็นชอบ
2. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งแผนปฏิบัติงาน

วัสดุและอุปกรณ์
วัสดุ อุปกรณ์
1. กระดาษโปสเตอร์สี กระดาษห่อของขวัญ 1. ป้ายนิเทศ
2. เครื่องเขียน ปากกา สีเมจิก ดินสอส 2. ข่าว หรือข้อมูลการเกษตร
ไม้บรรทัด ยางลบ คัตเตอร์ กรรไกร แบบผสมผสาน
กาว เทปกาว เครื่องยิงกระดาษ 3. ปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้
ปรับปรุง แก้ไข ขณะที่
ปฏิบัติงาน
4. ประเมินผลการปฏิบัติงาน
และเขียน รายงานโครงการ

แผนปฏิบัติงาน
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงานและเนื้อหาเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนการปฏิบัติงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
4. ปฏิบัติการจัดป้ายนิเทศ การเกษตรแบบผสมผสานตามข้อมูลทีได้ค้นคว้า
ใช้เวลานอก
5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินผลทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเกษตรแบบผสมผสาน
2. ประชาชนได้รับความรู้และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
3. ได้รับความรู้ ทักษะ ในการปฏิบัติงานกลุ่ม
4. มีนิสัยรักการอ่านและคนช่างสังเกต
การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล
ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานทุกครั้งต้องมีความระมัดระวัง
2. นักเรียนสามารถปฏิบัติงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถทำโครงงานส่งเสริมความรู้การเกษตรแบบผสมผสานได้สำเร็จ


โครงงานแนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
ความสำคัญ
ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเกษตรมากขึ้น ได้แก่ การปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การตัดต่อพันธุกรรม การโคลนนิ่ง เป็นต้น เทคโนโลยีทางการเกษตรจะมีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มผลผลิตทางด้านการเกษตร ทำให้ได้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและตรงต่อความต้องการของตลาด การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาช่วยในการเพิ่มผลผลิตควรใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพ
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรได้
2. เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรได้
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร จากหนังสือ เอกสาร หรือตำราต่างๆ
2. ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
3. เตรียมพร้อมด้านเงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนการปฏิบัติงาน แล้วปฏิบัติงานตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
2.เตรียมจัดหาทุน สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-2

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการแนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. ควรทำแผ่นพับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรให้ดูน่าสนใจ
2. ทำใบปลิวประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับฟังคำแนะนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร

สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถให้คำแนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตรได้


โครงงานการติดตาผลไม้
ความสำคัญ
การขยายพันธุ์โดยการติดตาเป็นวิธีการที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ได้ต้นพืชจำนวนมากและมีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ และยงให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ การขยายพันธุ์พืชด้วยวิธีการนี้ต้องอาศัยความชำนาญและความประณีตในการทำอย่างมาก ดังนั้นเราควรศึกษาถึงขั้นตอนและวิธีการในการติดตาให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติจริงหรือนำไปประกอบอาชีพในอนาคต
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลและวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา
2. กำหนดและจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ได้ครบถ้วน
3. เพื่อให้มีทักษะในการทำงานและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา
2. ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโครงงาน
3. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ

1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตา
2.เตรียมจัดหาพันธ์กิ่งที่มีตาสมบูรณ์การจัดหาอุปกรณ์ เช่น มีดติดตา กรรไกรตัดกิ่งเป็นต้น
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการแนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์
1. ต้นตอส้มที่แข็งแรง 1. มีดติดตา
2. กิ่งตาของส้มพันธุ์ดี 2. กรรไกรตัดกิ่ง
3. แผ่นพลาสติกใส

วิธีทำ
1. เลือกต้นตอส้มส่วนที่เปลือกไม้เป็นสีเขียวปนน้ำตาล กรีดต้นตอจากบนลงล่าง 2 รอย ห่างกันประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นรอบวงของต้นตอ ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร
2. ตัดขวางรอยกรีดด้านบน แล้วลอกเปลือกจากบนลงล่าง ตัดเปลือกที่ลอกออกให้เหลือด้านล่างประมาณ 1 เซนติเมตร
3. เฉือนแผ่นตาจากกิ่งส้มพันธุ์ดี ยาว 7 เซนติเมตร ลอกเนื้อไม้ออก แล้วตัดแผ่นตาด้านล่างทิ้งประมาณ 1 เซนติเมตร
4. สอดแผ่นตาลงในเปลือกของต้นตอ โดยให้ตาตั้งขึ้น แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น
5. ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงเปิดพลาสติกออก แล้วพันใหม่โดยเว้นช่องตาให้โผล่ออกมา ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงตัดยอดต้นเดิมแล้วกรีดพลาสติกออกก่อนนำไปปลูก

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
การคัดเลือกพันธุ์ที่นำมาใช้ในการติดตา ต้องเลือกกิ่งที่ได้จากต้นแม่ และเป็นกิ่งตาที่มีลักษณะสมบูรณ์แข็งแรงทั้งตายอดและตาล่าง

สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการติดตาได้

โครงงานการตอนกิ่งไม้ผล
ความสำคัญ
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวง เพราะทำให้ได้ได้กิ่งพันธุ์ไปปลุกแล้วทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว แตกกิ่งก้านสาขา มีทรงพุ่มที่สวยงาม เนื่องจากกิ่งตอนที่นำไปปลูกมีขนาดใหญ่ หากนำไปขายจะได้ราคาที่ดีกว่าการขยายพันธุ์พืชแบบอื่น โดยเฉพาะพืชประเภทไม้ผล จะเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก จะเห็นได้ว่าการยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับการหารายได้เสริมและการประกอบอาชีพในอนาคต
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลและวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง
2. กำหนดและจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ได้ครบถ้วน
3. เพื่อให้มีทักษะในการทำงานและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง
2. ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโครงงาน
3. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่ง
2.เตรียมจัดหาพันธ์กิ่งพันธุ์ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เช่น ขุยมะพร้าว มีดตอนกิ่ง กรรไกรตัดกิ่ง การเลือกกิ่งพันธุ์ การตัดกิ่งพันธุ์
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการตอนกิ่งพืช
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์
1. กิ่งพันธุ์ลิ้นจี่ หรือลำไย 1. มีดติดตา
2. ขุยมะพร้าว 2. กรรไกรตัดกิ่ง
3. ถุงพลาสติก
4. เชือก

วิธีทำ
1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์ลิ้นจี่ หรือลำไยที่มีลักษณะกึ่งอ่อนกึ่งแก่ และเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ปราศจากโรค
2. ควั่นกิ่ง เป็นรูปวงแหวน 2 วง ห่างกันความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง ลอกเอาเปลือกออกแล้วใช้สันมีดขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่นๆ ออกให้หมด ควรขูดจากด้านบนลงมาด้านล่าง
3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวแช่น้ำแล้วบีบหมาดๆ อัดลงในถุงพลาสติก) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งส่วนล่างและส่วนบนของรอยแผลให้แน่น ไม่ให้ตุ้มตอนหมุนได้
4. ให้นำตุ่มตอนอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2 สัปดาห์ กิ่งตอนจะเริ่มแทงรากผ่านวัสดุออกมาให้เห็น เมื่อรากเริ่มแก่เป็นสีเหลืองปนน้ำตาล ปลายรากมีสีขาวและมีจำนวนมากพอ จึงตัดกิ่งจอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในกระถาง หรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
เมื่อนำพืชที่ได้จากการตอนกิ่งไปปลูกต้องดูแลเอาใจใส่อย่างมาก เนื่องจากพืชไม่มีรากแก้ว

สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการตอนกิ่งได้
โครงงานการตัดชำไม้ดอก
ความสำคัญ

การขยายพันธุ์พืชโดยการตัดชำ หรือปักชำ เป็นวิธีที่นิยมกันมาก เพราะทำให้ได้ปริมาณต้นพืชตามความต้องการเป็นจำนวนมากและใช้ระยะเวลาน้อย การขยายพันธุ์พืชพืชด้วยวิธีนี้ สามารถทำได้ง่าย เพียงแต่มีความรู้ความเข้าใจในการคัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่จะนำมาตัดชำและจัดหาวัสดุสำหรับปักชำได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังใช้เงินทุนน้อยและสามารถใช้พันธุ์ไม้ในท้องถิ่นไปปักชำได้ง่ายโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ จะเห็นได้ว่าการขยายพันธุ์พืชวิธีนี้สามารถทำให้มีรายได้ระหว่างเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้สนใจได้อีกด้วย
จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลและวิธีการขยายพันธุ์พืชโดยการปักชำ
2. กำหนดและจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ได้ครบถ้วน
3. เพื่อให้มีทักษะในการทำงานและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์โดยการตัดชำ
2. ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโครงงาน
3. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ

1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดชำ
2.เตรียมจัดหากิ่งพันธุ์การเตรียมแปลงตัดชำ การจัดหาวัสดุ เช่น ทราย แกลบดำ การจัดทำระบบการให้น้ำ การเลือกกิ่งพันธุ์ การตัดกิ่งพันธุ์ ฯลฯ
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการแนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเกษตร
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์
1. กิ่งพันธุ์ต้นเข็มแดง และเทียนทอง 1. กรรไกรตัดกิ่ง
2. ทราย หรือแกลบดำ 2. มีดปลายแหลม
3. กระบะปักชำ
4. ถุงพลาสติก
วิธีทำ
1. คัดเลือกกิ่งพันธุ์ต้อนเข็มแดงและเทียนทองที่สมบูรณ์แข็งแรง
2. ตัดโคนกิ่งพันธุ์ให้ชิดข้อ ยาวประมาณ 6 นิ้ว โดยตัดเฉียงเป็นรูปฉลาม และตัดปลายกิ่งบนให้เหนือตา ประมาณ 1 เซนติเมตร
3. ใช้มีดปลายแหลมกรีดบริเวณโคนกิ่ง ยาว 1 เซนติเมตร 2-3 รอย
4. ปักกิ่งลงในวัสดุปักชำ ลึกประมาณ 2 นิ้ว โดยปักเอียง 45 องศา รดน้ำให้ชุ่ม แล้วครอบด้วยถุงพลาสติก
5. ประมาณ 20-30 วัน กิ่งปักชำจะงอกราก และแตกยอดอ่อน จึงย้ายลงปลูกในกระถางหรือแปลงปลูกได้

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. การดูแลกิ่งปักชำต้องควบคุมเรื่องความชื้นในวัสดุปักชำ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดรากของพืช
2. เมื่อนำพืชที่ได้จากการตัดชำไปปลูกต้องดูแลเอาใจใส่อย่างมาก เนื่องจากพืชไม่มีรากแก้ว
สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการตัดชำได้

โครงงานการคัดเลือกพันธุ์หมู
ความสำคัญ

การคัดเลือกพันธุ์สัตว์เป็นหลักการสำคัญในการเลี้ยงสัตว์ กล่าวคือ ทำให้เราสามารถเลือกพันธุ์สัตว์ที่เป็นพันธุ์ดี โตเร็ว แข็งแรง ปราศจากโรคและตรงกับความต้องการของตลาด สำหรับประเทศไทยมีผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นสำหรับผู้เลี้ยงที่ต้องทำการศึกษาวิธีคัดเลือกพันธุ์หมูที่มีลักษณะดี ให้ผลผลิตจำนวนมากเป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคทำให้สร้างรายได้แก่ผู้เลี้ยง การศึกษาวิธีการคัดเลือกพันธุ์หมูยังสามารถใช้เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพได้อีกทางหนึ่ง
จุดประสงค์
1. เข้าใจหลักการคัดเอกพันธุ์หมูได้อย่างถูกวิธี
2. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร ตำรา เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกพันธุ์หมู
2. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่เคยเลี้ยงหมู
3. ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาและเขียนโครงงานเสนอ
4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รายงานผล
แผนปฏิบัติงาน
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1. ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ เอกสาร ตำรา เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกพันธุ์หมู
2. สอบถามข้อมูลจากผู้ที่เคยเลี้ยงหมู
3. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงานและเนื้อหาเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4. วิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผล
5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกพันธุ์หมู
2. เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้
2. นำข้อมูลไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ในอนาคตได้
สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถทำโครงงานการคัดเลือกพันธุ์หมูได้สำเร็จ


โครงงานการทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลา
ความสำคัญ
น้ำสกัดชีวภาพ หรือปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ คือสิ่งที่ได้จากการหมักเศษพืชหรือสัตว์ และนำมาใช้ในรูปของน้ำ ในกระบวนการหมักเศษวัสดุเหล่านี้ต้องอาศัยจุลินทรีย์เป็นตัวช่วย แหล่งอาหารที่สำคัญของจุลินทรีย์ คือ น้ำตาล ดังนั้นเราจึงได้ใส่น้ำตาลในกระบวนการหมักด้วย ในน้ำสกัดชีวภาพจะประกอบด้วยธาตุอาหารที่อยู่ในรูปกรดอะมิโน และกรดอินทรีย์ต่างๆ รวมถึงสารเร่งการเจริญเติบโตดี และจุลินทรีย์บริเวณรอบรากพืชมีปริมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อการย่อยสลายสารอินทรีย์ในบริเวณนั้นและปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืช
จุดประสงค์
1. สามารถทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลาได้
2. เลือกใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลา
2. ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโครงงาน
3. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ

1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลา
2.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เช่น พุงปลา เลือดปลา กรดเข้มข้น น้ำตาล ถังบรรจุน้ำสกัดชีวภาพ ฯลฯ
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-2

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลา
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์
1. พุงปลา 4. กรรไกรตัดกิ่ง
2. กรดมดเข้มข้น หรือกรดน้ำส้มสายชูเข้มข้น 5. มีดปลายแหลม
3. น้ำตาล 6. เครื่องบด
วิธีทำ
1. นำพุงปลาและเลือดปลามาทำการบดให้มีขนาดเล็ก
2. นำไปหมักโดยใช้กรดเข้มข้น หรือกรดน้ำส้มสายชู ปริมาณร้อยละ 3.5
3. ผสมให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำตาลในปริมาณร้อยละ 20 เพื่อช่วยดับกลิ่นคาวจากเศษปลา
4. คนให้เข้ากันและหมั่นคนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 วัน ระยะนี้จะสังเกตเห็นว่า พุงปลาเริ่มมีการละลายออกมาเป็นสารละลายเกือบหมด ทำการหมักต่อไป 21 วัน ระยะนี้ทำการคนเป็นครั้งคราว การหมักปุ๋ยปลาถ้าใช้เวลานานจะได้ปุ๋ยปลาที่มีคุณภาพ
วิธีใช้
อัตราใช้ 10-15 ซีซี ฉีดพ่นที่ใบพืชทุก ๆ 15 วัน หรือใช้รดโคนต้นในปริมาณ 25-30 ซีซี/ต้น

การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
2. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
3. วางแผนปฏิบัติงาน
4. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. นักเรียนสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้
2. การให้น้ำสกัดสารชีวภาพแก่พืชควรใช้ควบคู่กับการให้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. การปฏิบัติงานกลุ่มต้องมีการแบ่งหน้าที่และมีความรับผิดชอบ
สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติการทำน้ำสกัดชีวภาพจากปลาได้


โครงงานการหมักใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์
ความสำคัญ
ประเทศไทยผลิตมันสำปะหลังมากเป็นอันดับสองของโลก และได้ส่งออกผลผลิตในรูปของมันสำปะหลังอัดเม็ด ส่วนใบมันสำปะหลังที่เหลือจากการผลิตไม่ได้มีการนำเอามาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆจากผลการวิเคราะห์ของนักวิจัย พบว่าใบมันสำปะหลังมีคุณค่าอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมทั้งเกลือแร่และวิตามินหลายชนิด การที่เกษตรกรไม่นิยมใช้ประโยชน์จากใบมันสำปะหลัง มีสาเหตุเนื่องจากสารไซยาไนด์ที่ตกค้างอยู่ หากสัตว์กินเข้าไปจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษอย่างเฉียบพลันถึงตายทันที ดังนั้นจึงได้มีการทดลองหมักใบมันสำปะหลังเพื่อให้ได้ใบมันหมักตากแห้ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้และไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ โดยที่ปริมาณของสารอาหารยังคงเดิม และนำมาใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ได้
จุดประสงค์
1. สามารถทำการหมักใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ได้
2. เลือกใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสม
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการหมักใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์
2. ปรึกษาหารือกับอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนโครงงาน
3. เตรียมความพร้อมด้านการจัดการ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่
4. วางแผนปฏิบัติงานและปฏิบัติตามขั้นตอน มีการปรับปรุงและพัฒนางานให้ดีขึ้น
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการ
จำนวนคาบ
หมายเหตุ

1.ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการหมักใบมันสำปะหลัเป็นอาหารสัตว์
2.เตรียมจัดหากิ่งพันธุ์การเตรียมแปลงตัดชำ การจัดหาวัสดุ เช่น ทราย แกลบดำ การจัดทำระบบการให้น้ำ การเลือกกิ่งพันธุ์ การตัดกิ่งพันธุ์ ฯลฯ
3.ดำเนินการปฏิบัติงานตามโครงงานที่ได้เขียนและศึกษาเนื้อหาข้อมูลไว้แล้วในสัปดาห์ที่ 1-3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการหมักใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ได้
2. นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. เผยแพร่ความรู้ให้แก่เกษตรกรที่สนใจได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
วัสดุและอุปกรณ์
1. ใบมันสำปะหลัง
2. เครื่องบด
3. มีด

วิธีทำ
1. ตัดใบมันสำปะหลัง
2. นำใบมันสำปะหลังไปบดให้ช้ำ
3. เตรียมพื้นที่สำหรับหมัก โดยทำการขุดหลุมลึกประมาณ 2 เมตร
4. นำใบมันสำปะหลังใส่หลุม อัดให้แน่น ทิ้งไว้ 3 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในธรรมชาติเป็นตัวช่วยหมัก แล้วนำขึ้นมาผึ่งแดดอีก 2 วัน เพื่อลดปริมาณสารไซยาไนด์ที่ตกค้างในใบมันสำปะหลัง
5. นำใบมันหมักตากแห้งไปใช้เป็นสารอาหารเสริมโปรตีนเลี้ยงสุกร หรือสัตว์ชนิดอื่น
การประเมินผล
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/หรือข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาโครงงาน
ได้
ไม่ได้
5. ศึกษาข้อมูลทางวิชาการ
6. รวมกลุ่มสมาชิก จัดหา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์
7. วางแผนปฏิบัติงาน
8. ประเมินผล

ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา
1. นักเรียนสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรได้
2. การให้ใบมันหมักตากแห้งเป็นอาหารสุกรจะทำให้ปริมาณน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
3. นักเรียนสามารถปฏิบัติงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปความคิดเห็น
นักเรียนสามารถปฏิบัติการหมักใบมันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ได้


วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมการปลูกพืชไร้ดิน








ปลูกผักไร้ดินโดยใช้ปุ๋ยนำชีวภาพร่วมกับแม่ปุ๋ยใช้วิธีปรับระดับน้ำแทนการหมุนเวียนน้ำ


วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาแหล่งเรียนรู้





ร่วมแรงร่วมใจสร้างบ่อเลี้ยงปลา








ร่วมแรงร่วมใจผลิตก้อนวัสดุเพาะเห็ดจากฟางข้าว












โรงเรือนวัวขุนและโรงปุ๋ยหมักสำเร็จได้ด้วยแรงกายแรงใจนักเรียน







กิจกรรมส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียนบริษัทมินิคอมพานี












กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีจัดตลาดนัดอาชีพภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีรายได้








ข่าวการเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้





คุณบุญชู ทองจำรูญ และคณะเข้ารับการอบรมเพาะเห็ด





















คณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีนำนักเรียนชั้น ม.3 เข้าศึกษาดูงานศูนย์เกษตรธรรมชาติคิวเซ จังหวัดสระบุรี






















ผู้ปกครองนักเรียนศึกษาการเพาะเห็ดจากแหล่งเรียนรู้



































นายกเหล่ากาชาติจังหวัดชัยภูมิและนายอำเภอจัตุรัสพร้อมด้วยคณะเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคุณครูพรหมวิทย์ กำเนิดจอก ให้การต้อนรับ







































วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ด














นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงในการเพาะเห็ดและผลิตเชื้อเห็ด























































กิจกรรมสวนป่าไม้ใช้สอย








คุณครูและนักเรียนร่วมกันปลูกต้นประดู่ ยางนา ไผ่ ไทร หวาย รวมจำนวน 300 ต้น ในแปลงสวนป่าไม้ใช้สอย






กิจกรรมการทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพ












ผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยน้ำชีวภาพสำหรับใช้ในแปลงเกษตร


กิจกรรมการเลี้ยงวัวขุน









นักเรียนได้เรียนรู้การจัดการแปลงหญ้าและการเลี้ยงดูวัวขุน


กิจกรรมการทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์























นักเรียนเรียนรู้การปลูกข้าวโพดด้วยการลงมือปฏิบัติจริง